หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
ปรัชญา
ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในฐานะผู้ช่วยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ให้มีความรู้ทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยใช้ศาสตร์และศิลป์อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติการฉุกเฉิน ทั้งนอกและในสถานพยาบาล สามารถปฏิบัติหน้าที่ภายใต้อำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ ตลอดจนดำเนินงานหรือบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อภาษาอังกฤษ: Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation
ชื่อวุฒิการศึกษา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อย่อภาษาไทย: ปวส. (สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ: Diploma of Science Program in Emergency Medical Operation
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: Dip. (Emergency Medical Operation)
วัตถุประสงค์หลักสูตร
เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ที่มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความรู้ในสาระสำคัญด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และศาสตร์ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ รวมทั้งสามารถจัดการบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้อย่างเป็นระบบ
- สามารถสืบค้น ประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล การคิดอย่างเป็นระบบ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนางานให้สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพอย่างสร้างสรรค์
- สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเอหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย
- สามารถสื่อสารและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
- มีคุณธรรมจริยธรรม เคารพกฎหมาย สิทธิของผู้ป่วย รับผิดชอบ มีวินัย เอื้ออาทร เคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
- มีทักษะปฏิบัติงานได้ตามขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ช่วยเวชกรรมตามคำสั่งการแพทย์หรือ การอำนวยการและเจตคติที่ดีในการปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยยึดหลักมาตรฐานความปลอดภัยและทันท่วงที รวมทั้งมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับพื้นที่ได้
โครงสร้างหลักสูตร
การรับรองหลักสูตร
หลักสูตรได้ผ่านการรับรองจากสภาการอาชีวศึกษา
คุณสมบัติการรับเข้าศึกษา
รอบที่ 1
เป็นผู้กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
รอบที่ 2-4
ผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
สถานที่จัดการเรียนการสอน
อาคารอำนวยการ และศูนย์ศึกษาการแพทย์ฉุกเฉิน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
คำอธิบายรายวิชา
อาจารย์ในหลักสูตร
นายเจตน์วิชยุตม์ บริรักษ์
หัวหน้าหลักสูตร
นายธนกร สิริกุล
นางสาวอารีนา ยามาแล
นางสาวนูวัยดา เจะหะ
น.ส.ไซนับ แวบือราเฮง
สำนักงานกลุ่มงานหลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ ()Paramedic) สังกัดกลุ่มวิชาการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
- อาคารศูนย์ศึกษาการแพทย์ฉุกเฉิน ชั้น 2
- หมายเลขโทรศัพท์ : 073-234863 ต่อ