หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
Diploma of Public Health (Pharmacy Technique)

ความเป็นมาที่อยากรู้จัก
สถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันเดียวที่ผลิตเจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม เรียนจบภายในสองปี และจบมาทำงานในห้องยาของโรงพยาบาลทุกระดับ ทำงานร่วมกับเภสัชกร ที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตยา ดูแลคลังยา สามารถอ่านและจัดยาตามใบสั่งยาของแพทย์ ภายใต้เภสัชกร ทำงานร่วมกับวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆในโรงพยาบาล มีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตรวจร้านขายของชำ ตลอดจนส่งเสริมสุขภาพประชาชนในชุมชน และการผลิตสื่อสารสนเทศด้านสุขภาพที่มีความทันสมัยเข้าถึงประชาชนในชุมชน”
สาขานี้เรียนอะไร
เรียนด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย และคณาจารย์ที่เป็นมืออาชีพทางด้านเภสัชกรรม เรียนรู้เกี่ยวกับสูตรและการผลิตยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ทราบถึงกลไกการทำงานของยา เรียนด้านการบริหารเวชภัณฑ์ยาในโรงพยาบาลเพื่อให้มีปริมาณยาที่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วย เรียนการอ่านใบสั่งยา และการให้คำแนะนำผู้ป่วยในการใช้ยาให้ถูกต้อง เพื่อให้คุณประกอบอาชีพเป็น “เจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม” ได้อย่างมั่นใจและมั่นคง
จบสาขานี้ทำอะไร
ทำงานให้ห้องยาและคลังยาของโรงพยาบาล และทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล รวมถึงการมีโอกาสเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่ง เจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม
ข้อมูลอ้างอิง : คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (PHAS)
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
ชื่อภาษาอังกฤษ Diploma Programme in Pharmacy Technique
ชื่อวุฒิการศึกษา
ชื่อภาษาไทย
ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
ชื่อย่อ : ปวส. (เทคนิคเภสัชกรรม)
ชื่อภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม: Diploma in Pharmacy Technique
ชื่อย่อ : Dip. Pharmacy Technique
ปรัชญาของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่ผลิตเจ้าพนักงานเภสัชกรรมให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเทคนิคเภสัชกรรม โดยเน้นสมรรถนะเฉพาะด้านด้วยการปฏิบัติจริงมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ และให้บริการสาธารณสุขด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
วัตถุประสงค์หลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม หลักสูตรปรับปรุง 2565 มีวัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา
1) มีความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคเชิงลึกภายใต้ขอบเขตของงานอาชีพ มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและงานอาชีพ สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
2) มีทักษะและสมรรถนะในงานอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
3) มีปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน บริหารจัดการ ตัดสินใจ แก้ปัญหา ประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพ มีทักษะการเรียนรู้ แสวงหาความรู้และแนวทางใหม่ๆ มาพัฒนาตนเองและประยุกต์ใช้ในการสร้างงานให้สอดคล้องกับวิชาชีพและการพัฒนางานอาชีพอย่างต่อเนื่อง
4) มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ เคารพสิทธิของผู้รับบริการ มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในงานอาชีพ รักงาน รักองค์กร และสามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
5) มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ มีวินัย มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ เหมาะสมกับการปฏิบัติในอาชีพ
6) เป็นผู้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ต่อต้านความรุนแรงและสารเสพติด ทั้งในการทำงานการอยู่ร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว องค์กร ท้องถิ่นและประเทศชาติ อุทิศตนเพื่อสังคม เข้าใจและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักในปัญหาและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
7) ตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นกำลังสำคัญในการให้บริการด้านสุขภาพ
8) เห็นคุณค่าและดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาระดับคุณวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
1.1 ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์
1.2 จิตบริการ เคารพสิทธิของผู้อื่น
1.3 เจตคติที่ดี พร้อมที่จะพัฒนาและส่งเสริมงานในหน้าที่ด้านเทคนิคเภสัชกรรม
2. ด้านความรู้
2.1 หลักการใช้ภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.2 หลักการดำรงตน การปรับตัว และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมสมัยใหม่
2.3 หลักการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2.4 หลักการและสาระสำคัญด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2.5 หลักการและสาระสำคัญด้านเทคนิคเภสัชกรรม
3. ด้านทักษะ
3.1 ทักษะการใช้ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารและการปฏิบัติงาน
3.2 ทักษะการปรับตัว อยู่ร่วมกับผู้อื่น และเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.3 ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
3.4 ทักษะในการวางแผน การบริหารจัดการ การประสานงาน และการประเมินผลในการปฏิบัติงานด้วยตนเอง
3.5 ทักษะการปฏิบัติงานด้านเทคนิคเภสัชกรรม
4. ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ
4.1 สื่อสารโดยใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงาน
4.2 วางแผน แก้ไขปัญหา พัฒนางานอาชีพ และปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลง
4.3 ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านเทคนิคเภสัชกรรมในการปฏิบัติงาน
4.4 จัดยาตามคำสั่งการใช้ยา บันทึกและรวบรวมข้อมูลการใช้ยา
4.5 จัดการคลังเวชภัณฑ์ภายใต้การกำกับดูแลของเภสัชกร
4.6 ผสมยาภายใต้การกำกับดูแลของเภสัชกร
4.7 รวบรวมข้อมูลความรู้ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อสนับสนุนการทำงานของเภสัชกร
4.8 รวบรวมข้อมูลปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับยา และประสานรายการยาภายใต้การกำกับดูแล ของเภสัชกร
4.9 ประสานงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ
4.10 จัดเตรียมข้อมูลและประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาด้านยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนภายใต้การกำกับดูแลของเภสัชกร
โครงสร้างหลักสูตร
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วยหมวดวิชาและรายวิชาดังต่อไปนี้
1. หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง 21 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาภาษาไทย 3 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 6 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
5) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
6) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ 56 หน่วยกิต
1) กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน 15 หน่วยกิต
2) กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ 21 หน่วยกิต
3) กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
4) ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
5) โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) – หน่วยกิต
5. รายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ 12 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 83 หน่วยกิต
การรับรองหลักสูตร
หลักสูตรได้ผ่านการรับรองจากสภาการอาชีวศึกษา
คุณสมบัติการรับเข้าศึกษา
รอบที่ 1
เป็นผู้กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
รอบที่ 2-4
ผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
สถานที่จัดการเรียนการสอน
อาคารอำนวยการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
คำอธิบายรายวิชา
อาจารย์ในหลักสูตร





นายชัยณรงค์ ชูทอง
หัวหน้าหลักสูตร
น.ส.ทินมณี แซ่เหลียง
น.ส.วีณาพร วงศ์สถาพรพัฒน์
น.ส.ชัญณยา หมันการ
น.ส.วิชญาพร ไสยสิทธิ์
สำนักงานกลุ่มงานหลักสูตรเทคนิคเภสัชกรรม สังกัดกลุ่มวิชาการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
- อาคารอำนวยการ ชั้น 2
- หมายเลขโทรศัพท์ : 073-234863 ต่อ