ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (Program learning outcomes : PLOs)
PLO 1. ปฏิบัติตามกฏระเบียบของสังคมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์แลรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
PLO 2. ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสังคมศาสตร์ เพื่อใช้ในการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ได้ตามพรด. 2564 และ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2566
PLO 3. สื่อสารกับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ญาติบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินอื่นๆ ที่จุดเกิดเหตุ และ แพทย์อำนวยการที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
PLO 4. ผลิตงานวิจัย นวัตกรรม ด้านฉุกเฉินการแพทย์ได้
PLO 5. ปฏิบัติการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลที่จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งมายังโรงพยาบาล ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
PLO 6. ปฏิบัติการอำนวยการผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
PLO 7. วางแผน ออกแบบ และดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ทางการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลให้กับบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินอื่นๆ หรือประชาชนทั่วไปได้
PLO 8. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสืบค้นความรู้ นำเสนอผลงาน และการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือ และทันสมัย
รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัส: xxxxxx
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Paramedicine
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฉุกเฉินการแพทย์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Paramedicine)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (ฉุกเฉินการแพทย์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Paramedicine)
โครงสร้างหลักสูตร
การรับรองหลักสูตร
หลักสูตรได้ผ่านการรับรองในระบบ CHECO เมื่อวันที่ วันที่ 27 กันยายน 2565
คุณสมบัติการรับเข้าศึกษา
รอบที่ 1
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานรวมถึงรายวิชาเพิ่มเติม (สาระชีววิทยา สารเคมี สารฟิสิกส์)รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
รอบที่ 2-4
เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานรวมถึงรายวิชาเพิ่มเติม (สาระชีววิทยา สารเคมี สารฟิสิกส์)รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
สถานที่จัดการเรียนการสอน
อาคารเรียน 11 ชั้น และศูนย์ศึกษาการแพทย์ฉุกเฉิน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
คำอธิบายรายวิชา
ดร.ภัคณัฐ วีรขจร
หัวหน้ากลุ่มงาน
หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
นายกิจจา ปลื้มสวาสดิ์
อาจารย์
น.ส.ฮีดายะห์ อาสะวะ
อาจารย์
น.ส.ไซนูญ มาหมัด
อาจารย์
สำนักงานกลุ่มงานหลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ ()Paramedic) สังกัดกลุ่มวิชาการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
- อาคารศูนย์ศึกษาการแพทย์ฉุกเฉิน ชั้น 2
- หมายเลขโทรศัพท์ : 073-234863 ต่อ