หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
Bachelor of Public Health (Community Public Health)
ระดับปริญญาตรี ระยะเวลาเรียน 4 ปี
ความเป็นมาที่อยากรู้จัก
หากพูดถึงงานสาธารณสุข หลาย ๆ คน อาจจะคุ้นเคยกับงานรักษาพยาบาล เช่น หมอ หรือพยาบาล แต่งานทางด้านสาธารณสุข นอกจากงานรักษาแล้ว ยังมีงานส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งไม่เพียงดูแลประชาชนรายบุคคลแล้ว ยังต้องดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคมให้เอื้อต่อสุขภาพที่ดีด้วย ผู้ที่จบสาธารณสุขศาสตร์ จึงมักจะมีรอบด้าน ขึ้นกับหน่วยงานและสถานที่ทำงาน บางคนทำงานเกี่ยวกับป้องกันควบคุมโรค เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บางคนทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในช่วงวัยต่าง ๆ บางคนทำงานวิเคราะห์ทางด้านนโยบายและแผนสุขภาพ บางคนทำงานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในสังคมทั่วไปและในสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพที่ดี บางคนทำงานประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพซึ่งต้องให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นร่วมด้วย
ดังนั้น สถานที่ปฏิบัติงานของนักสาธารณสุขในภาครัฐ จึงมีหลากหลาย ทั้งในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลประจำอำเภอและประจำจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและจังหวัด ตลอดจนองค์กรสุขภาพต่าง ๆ ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แม้บทบาทของนักสาธารณสุขจะมีหลากหลาย แต่การเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขชุมชนของสถาบันพระบรมราชชนกนั้น จะมีจุดเด่นที่การเน้นรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อใช้ทำงานกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก เพราะสถาบันพระบรมราชชนกคือมหาวิทยาลัยของกระทรวงสาธารณสุขที่ผลิตบุคลากรป้อนให้กับกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งสร้างผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ให้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา พัฒนาการสาธารณสุขชุมชนอย่างเป็นระบบ สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะ สร้างสรรค์ผลงาน ในการจัดการสุขภาพชุมชนเชิงรุกแบบองค์รวมโดยเน้นการมีส่วนร่วมตามมาตรฐานวิชาชีพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
- กายวิภาคศาสตร์
- สุขภาพจิตชุมชน
- ประชากรศาสตร์
- การใช้ยาเบื้องต้น
- การบำบัดโรคเบื้องต้น
- การจัดการสุขภาพชุมชน
- วิทยาการระบาด
- อนามัยสิ่งแวดล้อม
- การแก้ปัญหาและพัฒนาสาธารณสุข
- แบคทีเรีย
- เชื้อรา
- ไวรัสและเชื้ออื่นๆ
- และอื่นๆ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
สามารถประกอบอาชีพในสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และยังสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข หรือ อาชีพอิสระ โดยเป็นไปตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และข้อกำหนดของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
- นักวิชาการสาธารณสุข
- นักวิชาการควบคุมโรค
- นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
- นักวิชาการสุขาภิบาล
- นักวิชาการสุขศึกษา
- อาจารย์
- ผู้ช่วยนักวิจัย
- ประกอบอาชีพอิสระ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome: PLOs)
PLO 1. ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของสังคมตรงต่อเวลา รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
PLO 2. ประยุกต์ใช้ความรู้กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มวิชาเลือก ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
PLO 3. วิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค ตรวจประเมินและบําบัดโรคเบื้องต้น และฟื้นฟูสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม
PLO 4. สื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับบุคคลและชุมชนได้อย่างถูกต้องตามหลักการสื่อสารและหลักไวยากรณ์
PLO 5. แสดงออกถึงภาวะผู้นํา และสามารถทํางานร่วมกับสหวิชาชีพและภาคส่วนอื่น ๆได้ถูกต้องตามสถานการณ์
PLO 6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและสื่อสารองค์ความรู้ไปสู่ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
PLO 7. ผลิตวิจัย/นวัตกรรม ในการพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาพประชาชนได้ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
PLO 8. แก้ปัญหาและพัฒนาสุขภาพชุมชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาหรือการบริหารงานด้านการสาธารณสุขภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัส 25551711113509
ภาษาไทย หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Health Program in Community Public Health
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทยสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Health (Community Public Health)
อักษรย่อภาษาไทย ส.บ.(สาธารณสุขชุมชน)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.P.H.( Community Public Health)
3. หลักสูตรได้ผ่านการรับรองในระบบ CHECO เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ประเภท ปริญญาตรีทางวิชาชีพ
6. ภาษาที่ใช้ หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษบางรายวิชา)
7. คุณสมบัติการศึกษา
รอบที่ 1
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
รอบที่ 2-4
เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
9. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรต้องการสร้างบัณฑิตด้านสาธารณสุข ที่มีความรู้และความสามารถด้านการจัดการสุขภาพชุมชนตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556 เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข ทั้งใน ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้มี คุณสมบัติในการสอบความรู้เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในสถานบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการสุขาภิบาล นักศึกษาสุขศึกษา อาจารย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือนักวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแลสุขภาพ รวมทั้ง ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพ และพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ภาคเอกชนด้านสาธารณสุข หรืออาชีพอิสระ
โครงสร้างหลักสูตร
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร 15 หน่วยกิต
1.2) กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม 6 หน่วยกิต
1.3) กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 9 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต
2.1.1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 12 หน่วยกิต
2.1.2) กลุ่มวิชาสาธารณสุข 18 หน่วยกิต
2.2) กลุ่มวิชาชีพ 62 หน่วยกิต
2.2.1) กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน 11 หน่วยกิต
2.2.2) กลุ่มป้องกัน ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข 10 หน่วยกิต
2.2.3) กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้นการดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ 8 หน่วยกิต
2.2.4) กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม 10 หน่วยกิต
2.2.5) กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข 11 หน่วยกิต
2.2.6) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในชุมชนแบบบูรณาการ 12 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้จากชุดวิชาเลือกเสรี หรือ วิชาในหลักสูตรปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในหลักสูตรอื่นในสถาบันพระบรมราชชนก
3 รายวิชา
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร 15 หน่วยกิต
1.1.1) รายวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
GE 101 ภาษาไทยเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
GE 102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)
GE 103 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
GE 104 ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
1.1.2) รายวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
GE 105 ภาษาอังกฤษก้าวหน้า 3(2-2-5)
GE 106 ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2-2-5)
GE 107 การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3(2-2-5)
GE 108 ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)
GE 109 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)
1.2) กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม 6 หน่วยกิต
1.2.1) รายวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
GE 201 เราคือ สบช. 3(2-2-5)
1.2.2) รายวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
GE 202 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3(3-0-6)
GE 203 คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3(3-0-6)
GE 204 การพัฒนาบุคลิกภาพ 3(3-0-6)
GE 205 สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต 3(3-0-6)
GE 206 จิตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง 3(3-0-6)
GE 207 สมาธิเพื่อพัฒนาชีวิต 3(3-0-6)
GE 208 สังคมพหุวัฒนธรรม 3(3-0-6)
GE 209 พลเมืองวิวัฒน์ 3(2-2-5)
GE 210 วัยใส ใจสะอาด 3(3-0-6)
1.3) กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 9 หน่วยกิต
1.3.1) รายวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
GE 301 ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล 3(2-2-5)
GE 302 การรู้ดิจิทัล 3(2-2-5)
1.3.2) รายวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
GE 303 การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล 3(3-0-6)
GE 304 วิทยาศาสตร์รักษ์โลก 3(3-0-6)
GE 305 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
GE 306 จิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต 3(3-0-6)
GE 307 วิถีชีวิตและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 3(2-2-5)
GE 308 การรังสรรค์อาหารเพื่อสุขภาพ 3(3-0-6)
2) หมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต
2.1.1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 12 หน่วยกิต
0203300101 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 3(2-2-5)
0203300102 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 3(2-2-5)
0203300103 ฟิสิกส์สาธารณสุข 3(2-2-5)
0203300104 ชีวเคมี 3(2-2-5)
2.1.2) กลุ่มวิชาสาธารณสุข 18 หน่วยกิต
0203300205 พยาธิวิทยา 3(2-2-5)
0203300306 ชีวสถิติและสถิติสาธารณสุข 3(2-2-5)
0203300307 ประชากรศาสตร์ 2(2-0-4)
0203300208 โภชนศาสตร์สาธารณสุข 3(2-2-5)
0203300209 จิตวิทยาสาธารณสุข 2(2-0-4)
0203300210 หลักการสาธารณสุข 3(2-3-4)
0203300211 ชุมชนศึกษาด้านสาธารณสุข 2(1-2-3)
2.2) กลุ่มวิชาชีพ 62 หน่วยกิต
2.2.1) กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน 11 หน่วยกิต
0203300212 การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 3(2-3-4)
0203300213 สุขภาพผู้สูงอายุ 2(1-3-2)
0203300214 สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 3(2-3-4)
0203300415 การแก้ไขปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุข 3(2-3-4)
2.2.2) กลุ่มป้องกัน ควบคุมโรค ระบาดวิทยา 10 หน่วยกิต
สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข
0203300216 การป้องกันและควบคุมโรค 3(2-3-4)
0203300317 วิทยาการระบาด 3(2-3-4)
0203300318 การวิจัยด้านสาธารณสุข 1 2(1-2-3)
0203300319 การวิจัยด้านสาธารณสุข 2 2(1-2-3)
2.2.3) กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น 8 หน่วยกิต
การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ
0203300220 การบำบัดโรคเบื้องต้น 3(2-3-4)
0203300221 การปฐมพยาบาล 3(2-2-5)
0203300222 การใช้ยาเบื้องต้นในงานสาธารณสุข 2(2-0-4)
2.2.4) กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม 10 หน่วยกิต
0203300323 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 3(2-3-4)
0203300324 อนามัยสิ่งแวดล้อม 1 3(2-3-4)
0203300325 อนามัยสิ่งแวดล้อม 2 4(3-3-6)
2.2.5) กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข 11 หน่วยกิต
0203300426 การบริหารงานสาธารณสุข 3(2-2-5)
0203300427 การจัดการระบบสุขภาพชุมชน 3(2-3-4)
0203300328 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข 2(2-0-4)
0203300329 กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน 3(3-0-6)
2.2.6) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในชุมชนแบบบูรณาการ 12 หน่วยกิต
0203300230 ประสบการณ์สาธารณสุขชุมชน 1 4(0-16-0)
0203300331 ประสบการณ์สาธารณสุขชุมชน 2 4(0-16-0)
0203300432 ประสบการณ์สาธารณสุขชุมชน 3 4(0-16-0)
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ผศ.ดร.อัญชลี พงษ์เกษตร
หัวหน้ากลุ่มงาน
อ.ซูฮัยลา สะมะแอ
อาจารย์
อ.นาซีเราะ ยือโร๊ะ
อาจารย์
อ.โรสนานี เหมตระกูลวงศ์
แพทย์แผนไทยชำนาญการ
อ.นวลพรรณ ทองคุปต์
แพทย์แผนไทยชำนาญการ
นายสุริยัน ยูโซ๊ะ
นักวิชาการศึกษา
สำนักงานกลุ่มงานหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน สังกัดกลุ่มวิชาการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
- อาคารสาธารณสุขชุมชน (อาคารหน้าเสาธง)
- หมายเลขโทรศัพท์ : 073-234863 ต่อ